วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี cloud computing

cloud computing

หากแปลแบบตรงตัว อาจจะเรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (อังกฤษ: cloud computing) เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิส โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น
 
สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาให้คำจำกัดความ "cloud" ว่า มันเป็นอุปลักษณ์ จากคำในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เมฆ[2] กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวม[3] ในรูปของโครงสร้างพื้นฐาน (เหมือนระบบไฟฟ้า ประปา) ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งานเมื่อมีความต้องการใช้[4] ผู้ให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส่วนใหญ่ จะให้บริการในลักษณะของเว็บแอปพลิเคชันโดยให้ผู้ใช้ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น ถูกอธิบายถึงโมเดลรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่เน้นการขยายตัวได้อย่างยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และมีการจัดสรรทรัพยากร[5][6] โดยเน้นการทำงานระยะไกลอย่างง่าย ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน[7] ตัวอย่างของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยูทูบ โดยที่ผู้ใช้สามารถเก็บวิดีโอออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ในการสร้างระบบวิดีโอออนไลน์ หรือ ในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น
 

การบริการบนระบบ

การบริการบนระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆสามารถ แบ่งรูปแบบของชั้น ดังนี้
  • การให้บริการซอฟต์แวร์ หรือ Software as a Service (SaaS) จะให้บริการการประมวลผลแอปพลิเคชันที่แม่ข่ายของผู้ให้บริการ และเปิดให้การบริการทางด้านซอฟแวร์ต่างๆ
  • การให้บริการแพลทฟอร์ม หรือ Platform as a Service (PaaS) เป็นการประมวลผล ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ และการสนับสนุนเว็บแอปพลิเคชันเข้ามาร่วมด้วย
  • การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure as a Service (IaaS) เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน มีประโยชน์ในการประมวลผลทรัพยากรจำนวนมาก
  • บริการระบบจัดเก็บข้อมูล หรือ data Storage as a Service (dSaaS) ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ไม่จำกัด รองรับการสืบค้นและการจัดการข้อมูลขั้นสูง
  • บริการร่วมรวมลำดับความเชื่อมโยง หรือ Composite Service (CaaS) คือส่วนทำหน้าที่รวมโปรแกรมประยุกต์ หรือจัดลำดับการเชื่อมโยงแบบ workflow ข้ามเครือข่าย รวมถึงการจัดการด้านความปลอดภัย

ส่วนประกอบของ cloud computing

เนื่องจาก cloud computing จะต้องรองรับผู้ให้บริการจำนวนมาก และผู้ใช้บริการก็มีความคาดหวังไว้ว่า บริการหรือ applications ที่ได้นั้นจะต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็ว,ปลอดภัย และ พร้อมที่จะใช้งานอยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใดก็ตาม ดังนั้น ผู้ให้บริการ cloud computing จะต้องมีการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure) ของระบบที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1. Transparency -ใน clound computing จะต้องมีการใช้ Transparent load-balancing คือ ความพยายามที่จะทำให้เกิด balance ในการทำงานเมื่อมีการเรียกใช้ application จากผู้ใช้หลายๆคนพร้อมกัน โดยจะกระจาย load หรืองานไปให้เครื่องหรือ server อื่นๆเพื่อช่วยในการทำงาน อย่างเช่น ปกติการให้บริการจะ run อยู่บน server ตัวเดียว แต่เมื่อไหร่ก็ตามมีผู้ใช้งานจำนวนมากและจำเป็นต้องใช้ server เพิ่มขึ้น transparency จะอนุญาตให้มีการประสานงานกับ server อื่นๆได้โดยที่ไม่ต้องขัดจังหวะการทำงานหรือต้องติดตั้งระบบกันใหม่ อย่างนี้เป็นต้นส่วน application deliveryหรือการให้บริการระบบงาน จะช่วยตอบสนองความต้องการให้ application และข้อมูลทุกรูปแบบได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนและเวลาใดก็ตาม
  2. Scalability คือ สามารถปรับขนาดระบบได้ตามภาระงาน
  3. Intelligent Monitoring มีระบบที่สามารถตรวจสอบได้ว่า application หรือ service มีปัญหาอะไร ตรงไหนบ้าง
  4. Security เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ใน cloud ซึ่งก็มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกันที่ข้อมูลสำคัญๆอาจจะถูกขโมยหรือเกิดความเสียหายจากการโจมตีระบบได้ ดังนั้นสถาปัตยกรรมของ cloud computing จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับต้นๆ

รูปแบบของ cloud แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. Public clouds มี server จำนวนมากและตั้งอยู่หลายๆที่ ซึ่งผู้ใช้จะใช้บริการผ่าน web application หรือ web service
  2. Private cloud ผู้ใช้บริการเป็นผู้บริหารจัดการระบบเอง โดยจะมีการจำลอง cloud computing ขึ้นมาใช้งานใน network ส่วนตัว รูปแบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายเพราะมีการแชร์ทรัพยากรร่วมกัน และ มีความสะดวกเนื่องจากผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้งระบบและดูแลรักษาให้
  3. Hybrid cloud ประกอบขึ้นด้วยผู้ให้บริการแบบ public และ private ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบ enterprise
​อ้างอิงจาก http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=6164&filename=index

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบDLNA

          อุปกรณ์ DLNA ใช้โปรโตคอล Universal Plug and Play (UPnP)  ที่สนับสนุนฟังก์ชันการทำงานแบบพลักแอนด์เพลย์เพียร์ทูเพียร์สำหรับอุปกรณ์เครือข่าย ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับ UPnP การออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์ และติดตั้งบริการของเครือข่าย และการจัดการ UPnP ทำการค้นพบอุปกรณ์และบริการและการควบคุมผ่านทางกลไก driverless มาตรฐานโดยใช้โพรโทคอล อุปกรณ์ universal Plug and Play สามารถกำหนดค่าเครือข่ายที่กำหนด ประกาศสถานะการออนไลน์ของตนบนเครือข่ายย่อยของเครือข่าย และโดยอัตโนมัติโดยการอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนของคำอธิบายของอุปกรณ์และบริการ คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่เป็นจุดควบคุม UPnP เพื่อค้นหา และอุปกรณ์ผ่านทางอินเทอร์เฟซแบบเว็บหรือโปรแกรมควบคุม  ซึ่งใช้ในการจัดการ media (Media Management), การค้นพบ (Discovery) และการควบคุม (Control) ซึ่งจะช่วยกำหนดประเภทของอุปกรณ์ที่สนับสนุน DLNA ("Server", "Renderer", "Controller") และกลไกสำหรับการเข้าถึงสื่อผ่านเครือข่าย
เพื่อให้การกำหนดลักษณะของอุปกรณ์ได้ดีขึ้นและบริการที่พวกเขาได้เสนอแนวทางการทำงานร่วมกันของDLNA ได้จัดอุปกรณ์เป็น12 คลาสและแยกออกจัดออกเป็นสามหมวดหมู่อุปกรณ์ ดังรูปภาพต่อไปนี้


รูปที่3 แสดงชั้นของอุปกรณ์ DLNA
1.หมวดอุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้าน (Home Network Device: HND) 
ถูกจัดเป็นห้าคลาสที่ใช้ในเครือข่ายภายในบ้านโดยพึ่งพารูปแบบสื่อเดียวกันและความต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย
                        1.1 Digital Media Servers (DMS) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้อุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้านสามารถดึงไฟล์ไปใช้ได้
                                1.2 Digital media players (DMP) ค้นหาเนื้อหาที่นำเสนอโดย DMS เพื่อทำการเล่นและการแสดงผล เช่น ทีวีดิจิตอล
                                1.3 Digital media renders (DMR) ทำตัวเป็นนักแสดงที่ดี DMS โยนอะไรไปให้หรือ DMC ดึงอะไรจาก DMS มาให้ ก็จะแสดงไปตามนั้น 
                                (โหมดที่    ตัวเองกลายเป็นผู้แสดงผลภาพ,เสียงหรือวีดีโอจากเครื่องอื่น)
1.4 Digital media controllers (DMC) ทำตัวเองเป็น นายคน ดึงไฟล์จากเครื่องหนึ่ง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องหนึ่ง
1.5 Digital Media Printer (DMPr) ให้บริการการพิมพ์ผ่านเครือข่าย DLNA ภายในบ้าน เช่น เครื่องพิมพ์ภาพระบบเครือข่าย 
   (Networked Photo Printer)
               
2.หมวดอุปกรณ์มือถือแบบพกพา (The Mobile Handheld Device: MHD) ถูกจัดเป็นห้าคลาสที่ใช้รูปแบบเดียวกัน HND Device แต่มีความต้องการที่แตกต่างกันสำหรับรูปแบบสื่อและการเชื่อมต่อเครือข่าย
                        2.1 Mobile Digital Media Server (M-DMS) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้อุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้านสามารถดึงไฟล์ไปใช้ได้ อุปกรณ์ M-DMS     แตกต่างจากอุปกรณ์ DMS ในการที่พวกมันสนับสนุนรูปแบบที่เหมาะสำหรับอุปกรณ์มือถือ มาร์ทโฟนและเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา
                        2.2 Mobile Digital Media Player (M-DMP) ค้นหาเนื้อหาที่นำเสนอโดย M-DMS และให้ความสามารถในการเล่นและการแสดงผลเป็นสื่อที่ออกแบบมาสำหรับการดูเนื้อหาแบบมัลติมีเดียเหมาะสำหรับอุปกรณ์มือถือ แท็บเล็ต ฯลฯ
                        2.3 Mobile Digital Media Controller (M-DMC) มีความสามารถในการดึงเนื้อหาสื่อจากเครื่องหนึ่ง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องหนึ่ง
                        2.4 Mobile Digital Media Uploader (M-DMU) ทำหน้าที่ในการอัพโหลดเนื้อหาไปยัง M-DMS ตัวอย่างของ อุปกรณ์ M-DMU เช่น กล้องดิจิตอลและกล้องโทรศัพท์
                        2.5 Mobile Digital Media Downloader (M-DMD) ค้นหาและดาวน์โหลดเนื้อหาที่ M-DMS และเล่นเนื้อหาภายใน M-DMD หลังจากดาวน์โหลดตัวอย่างของอุปกรณ์ M-DMD เครื่องเล่นเพลงแบบพกพา
        3. หมวด Home Infrastructure Device (HID) หมวดนี้ถูกจัดเป็น 2 คลาส อุปกรณ์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ HNDs และการทำงานร่วม MHDs
                        3.1 Media Interoperability Unit (MIU) เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาระหว่างรูปแบบสื่อที่จำเป็นสำหรับหมวด HND Device และหมวด MHD Device

                        3.2 Mobile Network Connectivity Function (M-NCF) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมระหว่างเชื่อมต่อเครือข่าย MHD และการเชื่อมต่อเครือข่าย HND

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 ICT หมายถึงเทคโนโลยี หรือกระบวนการต่างๆ ที่ร่วมกันสร้างสารสนเทศ (การรวบรวมข้อมูลที่ต้องการมาจัดเก็บ นำข้อมูลมาประมวลผล หรือวิเคราะห์ให้เป็น สารสนเทศ เรียกข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ และส่งสารสนเทศ ในลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการ ไปให้ผู้ใช้เมื่อต้องการอย่างรวดเร็ว) สนองความต้องการของผู้ใช้ โดยมุ่งให้ผู้ใช้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพดี (คือมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ ครบถ้วน สมบูรณ์ ทันสมัย และตรงกับความต้องการ อย่างสะดวก รวดเร็ว ในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม)
I ย่อมาจากคำว่า Information แปลว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล การประมวลผลเป็นการบวก ลบ คูณ หาร การจัดกลุ่ม การจัดจำพวก ฯลฯ สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ง่ายต่อการแปลความหมายทำความเข้าใจได้ง่าย ทำให้มีความเข้าใจตรงกัน
C ย่อมาจากคำว่า Communication แปลว่าการสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันระบบสื่อสารการโทรคมนาคมได้เชื่อมโยงประเทศต่างๆในโลกเข้า ด้วยกันทำให้เกิดสังคมยุคไร้พรมแดน มนุษย์ซึ่งอยู่กันคนละซีกโลกสามารถติดต่อถึงกันโดยใช้เทคโนโลยีหลายรูปแบบ เช่น อินเตอร์เน็ตก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เกือบทุก รูปแบบ
T ย่อมาจาก Technology แปลว่าการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์


 ICT ย่อมาจาก Information and Communication Technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ความหมายตามที่ให้ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่าง ยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology" หรือกระทรวงไอซีที-ICT

อธิบายขอบข่ายงานแยกตามตัวอักษรได้ว่า
"I" Information
   สารสนเทศ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ ต่อการตัดสินใจ มีภาระหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารข้อมูลบนเครือข่าย อยู่ในศีลธรรมอันดี และไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
   จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ICT เป็นการเฉพาะ โดยให้สิทธิ์พิเศษในด้านการจัดหาเงินทุนหรือการร่วมลงทุน เป็นแหล่งกลางของข้อมูลออนไลน์ จัดให้มีองค์กรที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจ ICT สนับสนุนส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันเครือข่ายสารสนเทศในสถาบันการศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจ
"C" Communications
   การสื่อสาร ขอบข่ายงานคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั้งในและระหว่าง ประเทศที่เพียงพอในต้นทุนที่แข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มผู้นำในภูมิภาค มีเป้าหมายให้ประชากรมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มห้องสมุดไอที เพิ่มอัตราความสามารถในการใช้ ICT ของประชากรให้ถึงร้อยละ 60 เนื่องจากเป็นพื้นฐานต่อทักษะของประชาชนในสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้
   กำหนดให้อัตราค่าบริการในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศขั้นต้นเหมาะสมกับ ประชาชนส่วนใหญ่ ให้มีการสร้างเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีโครงสร้างการเชื่อมต่อตามโครงสร้างระบบราชการ
"T" Technology
   เทคโนโลยี รวมคำ 2 คำคือ Technique หมายถึงวิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และ Logic หมายถึงความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว
   ลักษณะงานคือสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่และการผลิตภายในประเทศ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ ICT ลดความเสี่ยงในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะ SME ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความปลอดภัยในระบบ ส่งเสริมให้มีการผลิตฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้มาตรฐาน

แนวคิดและทฤษฏี
   กระทรวงศึกษาธิการ ได้ริเริ่มโครงการโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบของการประสานความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามแนวคิดทฤษฎี Constructionism
        ทฤษฎี Constructionism (ศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพิร์ต : Seymour Papert) ซึ่งขยายความหมายของทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์ ออกไป โดยที่เขาอธิบายว่า การศึกษาหมายถึงการ นำเอาความรู้ที่เด็กมีอยู่ภายในตนเองออกมาแสดงให้ปรากฏ ดังนั้นการศึกษาต้องเน้นให้เด็กสร้างความรู้ขึ้นมาเอง ถ้าเด็กมี อะไร อยู่ข้างในเป็นฐานแล้ว จากสัมพันธภาพกับสิ่งต่างๆ เด็กต้องสร้างสิ่งอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ อันเป็นบันไดขั้นถัดไปจากการแสวงหาความรู้เบื้องต้น  โดยมีสิ่งแวดล้อมที่ ช่วยสร้างบรรยากาศในการสร้างความรู้ของเด็กในความคิดของ Papert ก็คือ
1.บรรยากาศและเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้เด็กสร้างสรรค์สิ่งที่เขาสนใจได้อย่างแท้จริง
2.สภาพแวดล้อมสังคมที่มีความหลากหลายเอื้อให้เด็กได้ร่วมมือร่วมคิดกับคนอื่นๆ
3.สภาพการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติเป็นกันเองอันเอื้อให้ผู้เรียนจมดิ่งสู่การสร้างสรรค์ความรู้โดยไม่ต้องพะวงต่อปัญหาอื่นๆ

ความหมายและความสำคัญในการนำ ICT มาใช้ในการเรียนรู้
   โดยความเป็นจริงแล้ว ครูเราใช้ ICT จัดการเรียนการสอนมานานแล้ว เพียงแต่ยังใช้รูปแบบเดิม ซึ่งหากมีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บ ข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการ ให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
   ICT หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิตอล เครื่องมือสื่อสาร หรือเครือค่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการเข้าถึง จัดการ บูรณาการ ประเมินผล และสร้างข้อมูล
เป้าหมายของการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ เพื่อ
- เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มผลงาน และการติดต่อสื่อสาร
- ความร่วมมือของนักเรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
- บริหารจัดการข้อมูล โดยการค้นคว้าข้อมูล
- ความร่วมมือของครู โดยครูทำงานร่วมกันเอง ทำงานร่วมกับนักเรียน และเพื่อนภายนอกโรงเรียน
- ความร่วมมือระหว่างโรงเรียน โดยนักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นที่อยู่นอกโรงเรียน
- การสร้างงาน โดยการจัดทำชิ้นงาน การเผยแพร่ผลงาน
- ช่วยบททวนบทเรียน โดยซอร์ฟแวร์เสริมการเรียน
ICT จะมีความสำคัญ ก็ต่อเมื่อ
- ถูกใช้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหา และพัฒนาความคิดวิเคราะห์
- ใช้ในการสร้างกลยุทธ์ เพื่อไขปัญหาที่ซับซ้อน และพัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สำหรับเรื่องที่สนใจ

ประโยชน์จากการนำระบบ ICT มาประยุกต์ใช้ พอสรุปได้ดังนี้
1.   ความสะดวกรวดเร็วในระหว่างการดำเนินงาน
2.   ลดปริมาณผู้ดำเนินงานและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง
3.   ระบบการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระเบียบมากขึ้นกว่าเดิม
4.   ลดข้อผิดพลาดของเอกสารในระหว่างการดำเนินการได้
5.   สร้างความโปร่งใสให้กับหน่วยงานหรือองค์กรได้
6.   ลดปริมาณเอกสารในระหว่างการดำเนินงานได้มาก (กระดาษ)
7.   ลดขั้นตอนในระหว่างการดำเนินการได้มาก
8.   ประหยัดเนื้อที่จัดเก็บเอกสาร (กระดาษ)

เปรียบเทียบให้เห็นถึงจุดดีและจุดด้อยพอสังเขป ดังนี้

การวิเคราะห์ ข้อดี ข้อด้อย ของ ICT
ข้อดี
ข้อด้อย
การศึกษา
     แหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาไม่ได้ขีดวงจำกัดอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น และไม่ได้จำกัดเวลาเรียนข่วง School time



     เป็นการสื่อสารทางเดียว ในตอนที่กำลังศึกษาหากมีปัญหาต้องการรู้ตอนนั้น ทำไม่ได้ทันที อาจฝากคำถามไว้ก่อนได้ และบางเรื่องก็เสี่ยงต่อศีลธรรม วัฒนธรรม ดังนั้น วุฒิภาวะของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้จักพิจารณาเลือกเรียน อย่างเหมาะสม         

ข้อดี
ข้อด้อย
ค่าใช้จ่าย
     ลงทุนติดตั้ง Hardware และ Software ในระยะแรกสูงแต่ใช้ได้ตลอดไปเมื่อมีการติดต่อผ่านโทรศัพท์ จึงเป็นการลงทุนครั้งเดียว
     ลดปริมาณการใช้กระดาษและมลภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
การซื้อขาย
     ย่นย่อเวลาการติดต่อค้าขายระหว่างผู้ผลิตที่ไม่ต้องลงทุนมาก ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้า พนักงาน ค่าโฆษณา และการตกแต่งหน้าร้าน

     การใช้จ่ายในเรื่องค่าโทรศัพท์ที่กลายเป็นเบี้ยหัวแตก นอกจากเช่า Leaseline ที่ชำระแพงมากในระยะติดตั้ง



     ลูกค้าหมดโอกาสต่อรองราคาและเสียงต่อการรับของที่ถูกใจ การไว้วางใจกับผู้ผลิตเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การซื้อขายแบบเดิม ๆ คือ Try before you buy ประเภทขอชิมก่อนนั้นเลิกคิดเลย

   เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโน
โลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย
สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้านมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้
ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น                                          
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตาม
และประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
             3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้าน
การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น
การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
4.  พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
เทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
            1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
            2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
            3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง เป็นต้น

แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
          1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
ระบบคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญา โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความ คิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
          2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตรเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ



การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
          ปัจจัยพื้นฐานคือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการ อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็นปัจจัยเบื้อง ต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ
          1. ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
              การที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียน รู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic
          2. ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
               ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการส อน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับ หลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน
          3. สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
               ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน  เรียกว่าห้อง สมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการ สาขาต่าง ๆ
          4. การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
               กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ  
ที่มา : eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1199986548-act1-ICTmeanning%20before16-11-50.doc -

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ
  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว